ประวัติโรงพยาบาล

โรงพยาบาลหนองมะโมง

ตั้งอยู่ที่190 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองมะโมง  อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข


เปิดให้บริการ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง
เดิมประชาชนในพื้นที่ต้องไปรับบริการที่โรงพยาบาลวัดสิงห์ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ทำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ลำบาก

 

ปัจจุบัน เปิดให้บริการงานผู้ป่วยนอก  งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน งานทันตกรรม งานเวชปฏิบัติครอบครัว
และเริ่มเปิดให้บริการแผนกผู้ป่วยในตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2561 ถึงปัจจุบัน

โดยเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ทุกวัน

 


 Hospital profile ( ข้อมูลพื้นฐานขององค์กร )


1.1 บริบทพื้นที่และขอบเขตความรับผิดชอบ

    1.1.1 ประวัติความเป็นมาของอำเภอหนองมะโมง
        ชนเผ่าที่เป็นบรรพบุรุษของชาวหนองมะโมง โดยส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวลาว ที่เรียกตัวเองว่า “ ลาวครั่ง ” ได้อพยพย้ายถิ่นมาจากบ้านเก่าเขากระจิว จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่บริเวณ บ้านกุดจอกในราวปี พ.ศ. 2427 เมื่อมีประชากรมากขึ้น จึงได้มีการขยายพื้นที่ทำกินและกระจายตั้งบ้านเรือนไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ชื่อ “หนองมะโมง ” เกิดจากการตั้งชื่อตามสภาพภูมิประเทศของหมู่บ้านซึ่งได้มาตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินบริเวณรอบ ๆ หนองน้ำที่มีต้นมะโมงขึ้นอยู่ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองมะโมง” 

    1.1.2 ลักษณะทางภูมิศาสตร์
        ลักษณะพื้นที่ของอำเภอหนองมะโมงส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเป็นที่ลุ่มทางทิศตะวันออกพื้นที่สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายค่อนข้างแห้ง ไม่มีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่าน มีเพียงลำห้วยขุนแก้วที่รับน้ำมาจากอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี โดยรวมสภาพยังแห้งแล้งซึ่งปัจจุบันอำเภอหนองมะโมง ได้นำแนวคิดของปราชญ์พระราชา โดยจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อเติมน้ำลงสู่ชั้นหินอุ้มน้ำและเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง

    1.1.3 ที่ตั้งและอาณาเขต
        อำเภอหนองมะโมง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2539 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ตั้งเป็นอำเภอหนองมะโมง ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2539บนพื้นที่สาธารณประโยชน์ “ดอนเขารัก” หมู่ที่ 1ตำบลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดชัยนาท ระยะทางห่างจากจังหวัดชัยนาทประมาณ 43 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 236 กิโลเมตรมีพื้นที่ประมาณ 204,850 ไร่ หรือประมาณ 327.76 ตารางกิโลเมตรเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2550 ได้ยกฐานะเป็นอำเภออำเภอหนองมะโมง มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดอำเภอหนองฉางและอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี
ทิศใต้ ติดอำเภอหันคาและอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท
ทิศตะวันออก ติดอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
ทิศตะวันตก ติดอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

คำขวัญอำเภอหนองมะโมง
ดินแดนแห่งเห็ดโคนของแท้       ถิ่นแย้เก่าก่อน
หินอ่อนงามตา                        ทอผ้าพื้นเมือง
ลือเลื่องไม้กวาด                      ประวัติศาสตร์ด๊อกเตอร์ป๋วย

เขตพื้นที่รับผิดชอบ
รูปที่ 1 แผนที่อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

 

        อำเภอหนองมะโมง เป็นหนึ่งใน 8 อำเภอของจังหวัดชัยนาท แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล
จำนวน 41 หมู่บ้าน เทศบาล 2 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 2 แห่งมีประชากรทั้งหมด 20,423 คน
แยกเป็น ชาย 10,009 คน เป็นหญิง 10,414 คนได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอในปี 2550

การปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น 2 เทศบาล 2 ตำบล รวมทั้งหมด 41 หมู่บ้าน รายละเอียดดังนี้
1. ตำบลหนองมะโมง จำนวน 12 หมู่บ้าน
2. ตำบลกุดจอก จำนวน 6 หมู่บ้าน
3. ตำบลสะพานหิน จำนวน 10 หมู่บ้าน
4. ตำบลวังตะเคียน จำนวน 13 หมู่บ้าน
รวม 41 หมู่บ้าน

 

    1.1.4 โครงสร้างประชากร

ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและหลังคาเรือนในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลหนองหนองมะโมงจังหวัดชัยนาทปี 2561

หมู่บ้าน ประชากร จำนวนหลังคาเรือน
ชาย หญิง รวม
หมู่ที่ 1 บ้านหนองมะโมง 413 431 844 295
หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งโป่ง 129 148 277 84
หมู่ที่ 12 บ้านประชารัฐ 147 133 280 68
รวม 689 712 1401 447

 ที่มา  :  ข้อมูลจากการสำรวจ  ( โปรแกรม HOSxPณ วันที่ 1  ตุลาคม 2561 )

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนร้อยละประชากรจำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ อำเภอหนองมะโมงจังหวัดชัยนาท ปี 2561

กลุ่มอายุ ประชากร รวม ร้อยละ
ชาย หญิง
รวม ร้อยละ รวม ร้อยละ
0-4  490  4.90 457   4.39 947  4.64 
5-9 592  5.91  634  6.09  1,226  6.00 
10-14 656  6.55  654  6.28  1,310  6.41 
15-19 551  5.51  549  5.27  1,100  5.39 
20-24 659  6.58  658  6.32  1,317  6.45 
25-29 655  6.54  675  6.48  1,330  6.51 
30-34 631  6.30  603  5.79  1,234  6.04 
35-39 761  7.60  685  6.58  1,446  7.08 
40-44 862  8.61  808  7.76  1,670  8.18 
45-49 867  8.66  853  8.19  1,720  8.42 
50-54 821  8.20  930  8.93  1,751  8.57 
55-59 661  6.60  716  6.88  1,377  6.74 
60-64 554  5.54  651  6.25  1,205  5.90 
65-69 450  4.50  506  4.86  956  4.68 
70+ 799  7.98  1,035  9.94  1,834  8.98 
รวม 10,009  59.01  10,414  50.99  20,423  100.00 

 ที่มา  :  ข้อมูลจากการสำรวจ Typearea 1,3 : โปรแกรม HDC ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2561

แผนภูมิที่ 1 ปิรามิดประชากรจำแนกตามกลุ่มอายุ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ปี 2561

พบว่าโครงสร้างอายุประชากรอำเภอหนองมะโมง ปี 2561 มีสัดส่วน เพศชาย 49.01 เพศหญิงร้อยละ 50.99 โดยเพศหญิงมีสัดส่วนสูงกว่าเพศชาย กลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 4.64 เด็กวัยเรียน (อายุ 5-14 ปี) ร้อยละ 12.41  วัยรุ่น (อายุ 15-19ปี)  ร้อยละ 5.39 วัยทำงาน (อายุ 20-59ปี)  ร้อยละ 57.99 วัยผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้นไป)  คิดเป็นร้อยละ 19.56 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ตารางที่ 3 แสดงสิทธิการรักษาจำแนกรายสถานบริการในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอหนองมะโมง ปี 2561

สถานีอนามัย ข้อมูลสิทธิ์ ประชากร
UC ปกส เบิกได้ อปท สิทธิ์อื่นๆ UCที่อื่น บุคคล2สิทธิ์ สิทธิ์ว่าง
รพ.หนองมะโมง 1,192 210 107 28 0 89 14 - 1,640
รพ.สต.หนองมะโมง 1,098 202 44 3 0 120 2 - 1,469
รพ.สต.หนองตะขบ 1,931 337 62 11 0 233 6 1 2,581
รพ.สต.วังตะเคียน 2,802 592 163 29 3 377 25 - 3,991
รพ.สต.บ้านวังตะเคียน 2,013 493 155 14 3 321 20 1 3,020
รพ.สต.สะพานหิน 2,426 466 106 8 2 238 28 1 3,275
รพ.สต.บ้านน้ำพุ 1,667 301 54 7 2 234 7 2 2,274
รพ.สต.กุดจอก 1,803 433 119 13 2 242 23 3 2,638
รวม 14,932 3,034 810 113 12 1,854 125 8 20,888

ข้อมูลจากการสำรวจ ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2561

แผนภูมิที่ 2 แสดงร้อยละผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2561

จำนวนประชากรทั้งหมด 20,888คน ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเขต จำนวน 14,932คน คิดเป็นร้อยละ 71.92 ผู้มีสิทธิประกันสังคม จำนวน 3,034คน คิดเป็นร้อยละ 14.61 ผู้มีสิทธิข้าราชการ จำนวน  810คน คิดเป็นร้อยละ 3.90 ผู้มีสิทธิข้าราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 113คน คิดเป็นร้อยละ 0.54 สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่อื่น จำนวน 1,854 คนเป็นร้อยละ 8.93 และมีผู้ที่มีสิทธิว่าง จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 0.04 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้แสดงผลการลงทะเบียนของผู้มีสิทธิอำเภอหนองมะโมง ข้อมูลนี้เพื่อนำไปใช้ในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังสถานการณ์การลงทะเบียนของหน่วยบริการอำเภอหนองมะโมง


1.2 โครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพยากรสาธารณสุข

    1.2.1 สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ
        โรงพยาบาลหนองมะโมง (F3) ขนาด 10 เตียง
        โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 7 แห่ง
          - ตำบลหนองมะโมง จำนวน 2 แห่ง
          - ตำบลวังตะเคียน จำนวน 2 แห่ง
          - ตำบลสะพานหิน จำนวน 2 แห่ง
          - ตำบลกุดจอก จำนวน 1 แห่ง


    1.2.2 สถานบริการสาธารณสุขภาคเอกชน
ตารางที่ 4 จำนวนสถานบริการสาธารณสุขภาคเอกชนจำแนกรายตำบล อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาทปี 2561

ตำบล โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเวชกรรม คลินิกเฉพาะทางเวชกรรม คลินิกทันตกรรมทั่วไป คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สหคลินิก คลินิกเทคนิคการแพทย์ คลินิกกายภาพบำบัด รวม
แห่ง เตียง
 หนองมะโมง  0  0  0  0  0  0  0  0  0  0
วังตะเคียน   0  0  0  0  0  3  0  0  0  3
สะพานหิน   0  0  0  0  0  2  0  0  0  2
กุดจอก   0  0  0  0  0  0  0  0  0  0
   0  0  0  0  0  5  0  0  0  5

 ที่มา : กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท
ข้อมูล ณวันที่ 7 มิถุนายน 2561
สถานบริการสาธารณสุขเอกชน ในอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท มีคลินิกการพยาบาลและ
การผดุงครรภ์ จำนวน 5 แห่ง ไม่มีคลินิกแพทย์ คลินิกทันตกรรม

    1.2.3 บุคลากรสาธารณสุขและกรอบอัตรากำลัง
ตารางที่ 5  แสดงจำนวนและสัดส่วนบุคลากรโรงพยาบาลต่อจำนวนประชากรในพื้นที่ อำเภอหนองมะโมง  จังหวัดชัยนาท ปี 2561

ประเภท จำนวน สัดส่วน
1.แพทย์ 3 1:5,065
2.ทันตแพทย์ 2 1:7,598
3.เภสัชกร 2 1:7,598
4.พยาบาลวิชาชีพ 24 1:950
5.นักเทคนิคการแพทย์ 2 1:7,598
6.นักวิชาการสาธารณสุข 2 1:7,598
7.จพ.เภสัชกรรม 2 1:7,598
8.จพ.ทันตาภิบาล 1 1:15,195
9.จพ.ธุรการ 1 -
10.พนักงานกระทรวงสาธารณสุข 24 -
11.ลูกจ้าง 35 -
รวม 98 -

     1.2.4 อาสาสมัครสาธารณสุขและกรอบอัตรากำลัง
ตารางที่ 6 แสดงจำนวนและสัดส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลหนองมะโมงต่อจำนวนหลังคาเรือนในพื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดชัยนาท ปี 2561

หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน จำนวน อสม. สัดส่วนต่อหลังคาเรือน
หมู่ที่ 1 บ้านหนองมะโมง 295 15 19.66
หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งโป่ง 85 10 8.50
หมู่ที่ 12 บ้านประชารัฐ 70 7 10
  450 32 14.06

1.2.5 ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ
ตารางที่ 7 แสดงจำนวนภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพโรงพยาบาลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ปี 2561

ลำดับ ชื่อเครือข่าย จำนวนสมาชิก ผู้ประสานงาน
1 ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลหนองมะโมง 190 นายเนยเนียมชาวนา
2 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข 33 น.ส.นัฐการลุกขผล
3 โรงเรียนวัดเขาดิน 1 นางอุษารัตน์สุมาลี
4 โรงเรียนบ้านดอนใหญ่ 1 นายปรีชาโสภณ
5 วัดเขาดิน 1 นายสวาสจันทร์ศรี
6 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองมะโมง 3 นางสุวรรณาอินทร์เล็ก
7 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดจอก 5 นางอรวรรณรติพพงศ์ธร
8 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังตะเคียน 4 นายอนุวัฒจุ้ยแก้ว
9 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังตะเคียน 5 นางราตรีสุพรมมา
10 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานหิน 6 นางมยุรีสิงห์เปีย
11 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองตะขบ 5 นายเฉลิมทองบุญ
12 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำพุ 6 นางรัชนกไกรรักษ์
13 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองมะโมง 5 นายศักรินทร์บุษบงศ์
14 หอกระจายข่าวสาร/เสียงตามสาย 3 ผู้ใหญ่บ้าน 3 หมู่บ้าน
15 เทศบาลตำบลหนองมะโมง 1 นายพัฒนาสิงโต
16 ศูนย์การศึกษานอกระบบฯ 1 นางพรทิพย์อินทร์งาม
17 ผู้ใหญ่บ้านม.1.บ้านหนองมะโมง 10 นายอำนาจเสลารัตน์
18 ผู้ใหญ่บ้านม.2 บ้านทุ่งโปร่ง 10 นางจงกลจันทร์ศรี
19 ผู้ใหญ่บ้านม.2 บ้านประชารัฐ 10 นายสุเทพนิลฉ่ำ

1.3 สถานะสุขภาพ

สถิติชีพ (อัตราการเกิด/ตาย)
ตารางที่ 8จำนวนและอัตราการเกิดมีชีพ การตาย ทารกตาย มารดาตาย และอัตราเพิ่มตามธรรมชาติ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ปี 2557- 2561

ประเภท เป้าหมายแผนฯ 10 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561
จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา
เกิดมีชีพ - 124 5.8 103 5.29 124 5.8 119 6.31 121 5.9
ตาย - 52 2.68 80 4.11 52 2.68 55 2.91 69 3.3
ทารกตาย อัตราไม่เกิน 15/พัน - - - - - - - - - -
มารดาตาย อัตราไม่เกิน 18/แสน - - - - - - - - - -
อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ ร้อยละ 1.0 72 3.12 23 1.18 72 3.12 64 3.39 52 2.6

ที่มา :  รายงานการตายตามแบบ 1202 รง. 517/2(แจงนับจากมรณะบัตร และรายงานการเกิด)

    1.) อัตราเกิด
แผนภูมิที่ 3อัตราเกิดของประชากรอำเภอหนองมะโมงเปรียบเทียบกับระดับจังหวัด ปี 2555-2561

ที่มา โปรแกรม HOSxP ข้อมูล ณ วันที่ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561
    อัตราเกิดมีชีพอำเภอหนองมะโมง ใน 2556-2559 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีอัตราเกิดมีชีพ 5.2,5.8,7.2,7.22 ต่อประชากรพันคน และลดลง ในปี 2559-2560 มีอัตราเกิดมีชีพเท่ากับ 7.33,6.31 ต่อประชากรพันคนทั้งนี้พบว่า อัตราเกิดมีชีพของอำเภอมีแนวโน้มลดลง มีทิศทางเดียวกับอัตราเกิดมีชีพของจังหวัดซึ่งมีแนวโน้มลดลง ในปี 2560 เท่ากับ 6.31 ต่อประชากรพันคน

    2.)อัตราตาย
แผนภูมิที่ 4 อัตราตายของประชากรอำเภอหนองมะโมงเปรียบเทียบกับระดับจังหวัด ปี 2555-2561

ที่มา โปรแกรม HosXp ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561
    อัตราตาย ปี 2555-2556 เท่ากับ 3.23, 4.11 ต่อประชากรพันคน มีแนวโน้มลดลงในปี 2557-2559 เท่ากับ 2.68, 2.30 ต่อประชากรพันคน เพิ่มขึ้นในปี 2559 อัตราตาย เท่ากับ 3.63 ต่อประชากรพันคนและมีแนวโน้มลดลง

    อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ
แผนภูมิที่ 5อัตราเพิ่มตามธรรมชาติของประชากรอำเภอหนองมะโมงเปรียบเทียบกับระดับจังหวัดปี 2555-2561

ที่มา โปรแกรม HosXp ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561
    อัตราเพิ่มตามธรรมชาติ ปี 2555 เท่ากับ 5.24 มีแนวโน้มลดลง ในปี 2556 เท่ากับ 1.18 ต่อประชากรพันคน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2557-2558 เท่ากับ 3.12, 4.92 ต่อประชากรพันคน และลดลงในปี 2559-2560 เท่ากับ 3.63,3.39 ต่อประชากรพันคน ตามลำดับ


1.4 ทุนศักยภาพที่สำคัญขององค์กรและพื้นที่

    ในทุนในชุมชนของอำเภอหนองมะโมงประกอบด้วยเงินคนภูมิปัญญาทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆได้แก่

    - ทุนเงินจากการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนได้นำผลกำไรจาการดำเนินงานในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์โต๊ะเก้าอี่เต้นท์ช้อนชามแก้วน้ำฯใช้ปรับปรุงซ่อมแซมศาลากลางหมู่บ้านเพื่อใช้ในการประชุมและทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชนและอีกส่วนมีการนำไปสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในพื้นที่รับผิดชอบ

    - ทุนคน/ทุนภูมิปัญญาในชุมชนหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอหนองมะโมงส่วนใหญ่จะมีทุกหมู่บ้านเช่นอสม.หมอน้อยอปพร. พิธีกรมัคทายกปราชญ์ต่างๆในหมู่บ้านผู้นำชุมชนฯลฯซึ่งแต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญในบทบาทหน้าที่ของตนและเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือดูแลคนและให้ความรู้คนในชุมชน

    - ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อำเภอหนองมะโมงมีป่าชุมชนในทุกตำบลประชาชนจะอาศัยป่าชุมชนในการหาของป่าเช่นเห็ดโคนผักหวานบุกผักซึ้กในช่วงฤดูฝนชาวบ้านก็จะออกไปจับอึ่งกบฯ

    - พื้นที่ในเขตอำเภอหนองมะโมงเป็นพื้นที่ดินปนทรายซึ่งเหมาะแก่การทำไร่อ้อยข้าวโพดมันสัมปะหลัง

    การมีและใช้ประโยชน์ชุดข้อมูลชุมชนซึ่งจะได้นำมาพิจารณาเพื่อให้รู้ถึงความสามารถและการมีส่วนร่วมในการใช้ทุนต่างๆที่มีในชุมชนเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังนี้ประเด็นพิจารณาเกี่ยวกับการรู้ต้นทุนศักยภาพและเป้าหมายในเชิงหลักคิดของทุนที่มีในชุมชนในการพิจารณาประเด็นนี้จะได้พิจารณาเกี่ยวกับทุนคนทุนเงินทุนวัสดุอุปกรณ์และทุนความรู้ความสามารถในการจัดการคละกันไปในพื้นที่มีทุนคนที่เป็นแกนนำอยู่หลายท่านในหลายด้านโดยในด้านสาธารณสุขแกนนำส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่รพ.สตทั้งสองแห่งอสม. หมอน้อยรวมทั้งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลวังตะเคียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของในกิจกรรมสาธารณสุขในระดับชุมชนหมู่บ้านเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในระดับหมู่บ้านกิจกรรมด้านสาธารณสุขสามารถดำเนินการไปได้ด้วยดีเนื่องจากแกนนำเป็นผู้ดำเนินการเองแต่ในระดับตำบลยังมีปัญหาเกี่ยวกับแกนนำประสานงานที่ยังไม่สามารถดึงศักยภาพของบุคคลเหล่านี้ออกมาได้อย่างไรก็ตามแกนนำหลายท่านมีปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสาธารณะเนื่องจากหลายท่านที่รับหน้าที่ทางสังคมหลายอย่างจนไม่มีเวลาว่างหรือเวลาส่วนตัวเป็นต้นด้านทุนเกี่ยวกับเงินปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งรพ.สต. และเทศบาลให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานในด้านสาธารณสุขนอกจากนี้ยังมีกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังตะเคียนและยังมีการขอรับทุนที่มาจากกองทุนเพื่อการกู้ยืมต่างๆในหมู่บ้านอีกด้วยแต่ยังไม่ได้รับการร่วมมือมากนักเนื่องจากบางกลุ่มยังไม่เข้าใจถึงบทบาทของกองทุนและข้อมูลการใช้จ่ายเงินของกองทุนด้านทุนสถานที่วัสดุอุปกรณ์นับได้ว่ามีพอเพียงสำหรับประกอบกิจกรรมเช่นศาลากลางบ้านสำนักงานเทศบาลและวัดสามารถใช้เป็นที่พบปะและจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสาธารณสุขได้ข้อด้อยประการหนึ่งคือไม่มีผู้นำภาคประชาชนระดับตำบลที่สามารถประสานทุกฝ่ายให้ทำงานสาธารณะได้อย่างสอดคล้องกันผลักดันกิจกรรมสาธารณะให้คนส่วนใหญ่ยอมรับและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจึงต้องมีการพัฒนาต่อยอดผู้นำด้านสุขภาพเพื่อประโยชน์ต่อสุขอนามัยที่ดีของประชาชนในเทศบาลตำบลวังตะเคียนทุกคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุผู้พิการแม่และเด็กกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงจะได้มีความรู้และดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวได้

 

1.4.1ทุนด้านสุขภาพ

     -กลุ่มผักปลอดสารพิษบ้านหนองมะโมงบ้านประชารัฐ

     -ชมรมออกกำลังกาย อสม.บ้านหนองมะโมง

     -สวนสมุนไพรบ้านประชารัฐ

     -ชมรมผู้สูงอายุแสนสุขบ้านหนองมะโมง

     -ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค

 

1.4.2ด้านสังคม

     -เทศบาลตำบลหนองมะโมง

     -สภาเด็กตำบลหนองมะโมง

     -วัดเขาดิน

     -โรงเรียนเขาดิน (วันครู 2505)

     -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่

 

1.4.3 ด้านสิ่งแวดล้อม

     - ศูนย์พัฒนาที่ดิน (เกษตรน้ำฝน)

     - โรงงานผลิตเอธานอล

     -ธนาคารน้ำใต้ดินเทศบาลหนองมะโมง

     -ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ (สระ 400 ไร่)

 

1.4.4 ด้านเศรษฐกิจ

     -ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหนองมะโมง

     -กลุ่มไม้กวาด

     -กลุ่มจักสานไม้

     -กลุ่มปลูกแคนตาลูบ

     -เจดีย์วัดเขาดิน

 

1.4.5 ด้านนโยบายและกฎหมาย

     -กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับพื้นที่

     -เทศบาลตำบลหนองมะโมง

     -คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ/ตำบล

โรงพยาบาลหนองมะโมง 190 หมู่ 1 ต.หนองมะโมง อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท